Last updated: 26 พ.ค. 2565 | 890 จำนวนผู้เข้าชม |
BTU กับขนาดห้อง เลือกให้เหมาะสมลดรายจ่าย
การเลือกซื้อแอร์สักตัวนั้น มีปัจจัยย่อยที่เราต้องตัดสินใจมากมาย และหนึ่งในนั้นก็คือ การคำนวณ BTU ของแอร์ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง เนื่องจากว่าถ้าเราคำนวณไม่ถูกต้อง มันสามารถส่งผลเสียตามมาอย่างคาดไม่ถึง เช่น ปัญหาแอร์กินไฟ , ปัญหาความเย็นไม่ทั่วถึง เป็นต้น
British Thermal Unit (BTU) เป็นหน่วย ประเภท หนึ่งสำหรับการใช้วัดปริมาณความร้อน ส่วนใหญ่ แล้วมักนำมาใช้กับ ระบบของแอร์ หากเทียบกับหน่วยสากลแล้วมันก็คือ จูล หรือแคลอรี นั่นเอง สำหรับ ความร้อนระดับ 1 BTU หมายถึง ระดับความร้อนที่ส่งผลให้น้ำระดับ 1 ปอนด์ จะมีอุณหภูมิลดลงหรือเพิ่มขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งเมื่อมีการนำมาใช้กับแอร์หมายถึงระบบของ แอร์ จะทำการดึงเอาความร้อนหรือ วัดระดับของความเย็น ในพื้นที่ที่ติดตั้งออกไปเพื่อให้อากาศ ถ่ายเท ได้คงที่มากที่สุดนั่นเอง
ทำไม? ต้องเลือก BTU ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง...
BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตัดบ่อยเกินไป เนื่องด้วยสามารถทำความเย็นได้เร็วเกิน ทำให้ประสิทธิ์ภาพในการทำงานลดน้อยลง ทำให้ความชื้นในห้องสูง ไม่สบายตัวและที่สำคัญราคาแพงและสิ้นเปลื้องพลังงาน
BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ผู้ใช้มักจะเลือกอุณหภูมิต่ำ เมื่อเลือกต่ำแล้วยังรู้สึกไม่เย็น ก็จะลดต่ำลงอีก ทำให้สิ้นเปลื้องพลังงานและเครื่องเสียเร็ว
สรุปก็คือ การเลือกขนาด BTU ของแอร์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของห้อง จะช่วยให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่เปลืองพลังงาน และลดภาระของเครื่องปรับอากาศของคุณอีกด้วย
ตัวอย่างการคำนวณ
ห้องนอนไม่ค่อยโดดแดด กว้าง 5 เมตร, ยาว 6 เมตร
BTU = [5 เมตร x 6 เมตร] x 700
= 30 ตารางเมตร x 700
= 21,000 => 20,000
เพราะฉะนั้น ควรใช้แอร์ขนาด 20,000-23,000 บีทียู (สามารถสูง-ต่ำได้นิดหน่อย)
ตัวอย่างการคำนวณห้องที่มีเพดานสูง
ห้องที่มีฝ้าเพดานสูง คำนวณโดยใช้สูตรปริมาตรของห้อง
BTU = [[กว้าง(เมตร) x ยาว(เมตร) x สูง(เมตร)] x ตัวแปร] / 3
ห้องทำงานโดดแดด กว้าง 4 เมตร, ยาว 10 เมตร, สูง 4 เมตร
BTU = [[4 เมตร x 10 เมตร x 4 เมตร ] x 900] / 3
= [160 ตารางเมตร x 900] / 3
= 144,000 / 3
= 48,000 => 48,000
เพราะฉะนั้น ควรใช้แอร์ขนาด 48,000 บีทียู (สามารถสูง-ต่ำได้นิดหน่อย)
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม
1. ทิศทางที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้องว่ามีแสงส่องเข้ามามากหรือน้อย
2. วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่ เพราะมีความร้อนสะสมมากหรือน้อย
3. ความสูงระหว่างพื้นกับเพดานห้อง พื้นที่ๆมากทำให้การทำความเย็นต้องใช้เวลา
4. ขนาดของประตูหรือหน้าต่างกระจก เป็นส่วนของการกั้นอากาศเข้าและออก
5. ความถี่ในการเปิด/ปิดประตู เข้า/ออก
6. จำนวนคนในห้อง คือความร้อนที่ออกจากตัวคนเมื่ออยู่ร่วมกันในห้องเดียวกัน
7. จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้อง อาทิ คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ เตาอบ
27 ก.พ. 2566
22 ก.พ. 2566
27 ก.พ. 2566